ชื่องานวิจัย : การพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2559
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 56,600.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : 023/2559
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ
สังกัด : สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยและการประเมิน
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย :








บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง โดยยึดหลักการดำเนินการวิจัยตามยุทธวิธีการวัดและประเมินความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น ที่เรียกว่า early grade reading assessment (EGRA) ของ United States agency for international development (USAID) โดยประยุกต์ให้เข้ากับระดับและบริบทการศึกษาไทย

ผลการวิจัย พบว่า

1. แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ประกอบด้วยข้อทดสอบ 6 หน่วยหลัก คือ
1. ความรู้เกี่ยวกับพยัญชนะและสระ
2. ความตระหนักและเข้าใจถึงหน่วยเสียง
2.1) การระบุเสียงพยัญชนะต้น
2.2) การบอกคำคล้องจองกับคำที่กำหนดให้
3. การอ่านเป็นคำทั้งคำ
3.1) ชุดคำพยางค์เดียว
3.2) ชุดคำสองพยางค์
3.3) ชุดคำศัพท์วิชาการ
4. การอ่านออกเสียงคำที่ไม่มีความหมายตามอักขรวิธี
5. การอ่านข้อความสั้น
6. การอ่านจับใจความ

แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มีค่าความยากง่ายอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง และจากการใช้วิธีการตรวจสอบโดยให้ผู้ทดสอบ 2 คน ทดสอบความสามารถในการอ่านของนักเรียนพร้อมกัน โดยต่างคนต่างบันทึกผล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นกรณีใช้ผู้สอบวัด 2 คน ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Cohen’s Kappa coefficient) พบว่า แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง พบว่า แบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับสูงทุกหน่วย
หมายเหตุ :