ชื่องานวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมการเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในอำเภอเมืองลำปาง
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2559
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 55,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : 010/2559
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : ปรารถนา โกวิทยางกูร
สังกัด : สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยและการประเมิน
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : เขมจิรา เกษมสุขพัชรา








บทคัดย่อ : โครงการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในอำเภอเมืองลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือครูผู้สอนในโรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดป่ารวก) รวม 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนมีความตระหนัก มีความพยายามในการพัฒนาคุณภาพทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน และคณะครูผู้สอนมีความสนใจและเต็มใจเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา” 2) แบบประเมินการรายงานผลการพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ของครูผู้สอน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการ และ4) แบบบันทึกสนทนากลุ่ม โดยเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการพิจารณาความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยครูผู้สอนมีส่วนร่วมกับผู้วิจัยในทุกขั้นตอนของการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ได้ผลสรุปการวิจัยดังนี้ ผลการใช้กระบวนวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในอำเภอเมืองลำปาง พบว่า 1) ระยะการวางแผนปฏิบัติการวิจัย ครูผู้สอนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหานักเรียนร่วมกัน ร่วมกันวิเคราะห์วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ให้กับนักเรียนร่วมกัน จึงทำให้ได้แผนการปฏิบัติการสอดคล้องกับปัญหาที่ครูผู้สอนต้องการแก้ไขจึงเป็นผลให้การดำเนินการวิจัยได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากครูผู้สอน 2) การใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พบว่าครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น มีความพึงพอใจมากต่อการอบรมเชิงปฏิบัติในการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน และสามารถนำเอาองค์ความรู้ไปพัฒนานักเรียนได้ และ 3) ผลการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติในระยะประเมินผลการปฏิบัติการวิจัย พบว่าครูผู้สอนสามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้ดีขึ้น ครูได้ปรับเปลี่ยนบทบาทรวมถึงเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ ทำให้ได้ผลการดำเนินการที่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงมากที่สุด สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตามบริบทและสภาพปัญหา รวมถึงได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งต่อไป


This research project was to study the results of using participatory action research to enable the teachers in developing analytical thinking skills of primary school students in Muang Lampang District. The sample used included 15 teachers who taught at Municipal School 6 (Wat Pa Ruak) selected through purposive sampling from the schools that had awareness and attempt to develop the analytical thinking skill of the students. The teachers were interested and willing to participate in the research project. The research instruments included 1) program for the workshop on “Developing analytical thinking skills of primary school students, 2) forms to evaluate the teacher’s reports on the results of the analytical thinking skills, 3) questionnaire asking the teacher’s satisfaction in taking part in the Project, and, 4) form for recording the group discussion. All of the instruments had passed the validating process carried out by the experts. In this research, the researcher had used the participatory action research in which the teacher had participated along the researcher at every research step. The acquired information was analysed in term of frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The findings are as follows. The results of using the participatory action research to enable the teachers to develop analytical thinking skills of the primary school students in Muang Lampang District reveal that 1) during the period of setting up the research plan, the teachers had participated in the process of analyzing the student’s problems, and searching for the method to be used for organizing the learning activities to develop thinking skill of the students to acquire the operational plan relevant to the problems that the teachers would like to solve leading to the cooperation of the teachers, 2) in using participatory action research, it was found that the teachers had increasing knowledge and understanding on analytical thinking skill, had more satisfaction on the workshop to develop the teacher’s competence and were able to apply the knowledge in developing the students, and, 3) concerning the use of action research during the period of the research assessment, it was found that the teachers could develop their student’s analytical thinking skills. The teachers had adjusted themselves and their techniques for learning management making their operation relevant to the real situation as much as possible. They could also develop the students to fit their context and the problems as well as had acquired the information to be used for the participatory action research to come.
หมายเหตุ :