ชื่องานวิจัย : การพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนนำร่องในเขตอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (Creating Process to Develop Measurement and Evaluation in Establishing “Moderate Class More Knowledge” learning activities of Pilot School in Meuang Parn District, Lampang Province.)
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2559
ประเภททุน : ทุนภายนอก
แหล่งทุน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
งบประมาณ : 100,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : RDG59003
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : เกศนีย์ พิมพ์พก
สังกัด : สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยและการประเมิน
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : ณัฐพล แจ้งอักษร
ดวงพร อุ่นจิตต์
ศิริพร วงค์ตาคำ






บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนนำร่อง ในเขตอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนนำร่องในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเมืองปาน โรงเรียนบ้านป่าเหว โรงเรียนแจ้ซ้อนวิทยา และโรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ การประชุมสนทนา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์จำแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยการทบทวนแบบสามเส้าและการตีความและสร้าง ข้อสรุปแบบอุปนัยจากข้อมูลภาคสนาม
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการร่วมพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กลุ่มเป้าหมายมีรูปแบบการวัดและประเมินผลไม่ชัดเจน ส่งผลให้ไม่สามารถนำสารสนเทศที่ได้ จากการวัดและประเมินผลมาสรุปกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม จึงวางแผนการพัฒนากระบวนการวัด และประเมินผลกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ให้ความสำคัญกับการกำหนดวัตถุประสงค์ การวางรู้แบบเนื้อหา กิจกรรมและรูปแบบการวัดประเมินผลที่สอดคล้องกัน โดยให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเป็นรายบุคคล
2. ผลการติดตามหนุนเสริมกระบวนการวัดและประเมินผลโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง (Coaching) พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีการวัดและประเมินผลนักเรียนโดยประเมินความก้าวหน้าระหว่างจัดกิจกรรมและประเมินความสำเร็จหลังการจัดกิจกรรม ผ่านการสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรม การประเมินผลการปฏิบัติโดยครู เพื่อนและผู้ปกครอง การสัมภาษณ์โดยใช้คำถามเพื่อให้นักเรียน ได้สะท้อนคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้และการต่อยอดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ การประเมินความพึงพอใจ และรายงานผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. ผลการสรุปกระบวนการพัฒนาการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนนำร่องในเขตอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้วิจัย ครู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง การวัดและประเมินผลในศตวรรษที่ 21 และมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 2) ครูออกแบบและพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยผู้วิจัยใช้กระบวนการโค้ชเข้าไปให้คำปรึกษาใน การกำหนดวัตถุประสงค์ การวางรู้แบบเนื้อหา กิจกรรมและรูปแบบการวัดประเมินผลที่สอดคล้องกัน 3) ครูวางแผนการประเมิน โดยศึกษาตัวชี้วัดของหลักสูตร กำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ตามตัวชี้วัด เลือกวิธีการประเมิน สร้างและจัดหาเครื่องมือวัด รวมถึงกำหนดเกณฑ์การประเมิน โดยผู้วิจัยใช้กระบวนการโค้ชเข้าไปให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้เครื่องมือที่สะท้อนการพัฒนาความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน และ 4) ครูดำเนินการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมลด เวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยผู้วิจัยใช้กระบวนการโค้ชเข้าไปให้คำปรึกษาด้านการแปลผลและนำ ผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

คำสำคัญ: กระบวนการวัดและประเมินผล ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ อำเภอเมืองปาน



The research aims to develop the assessment and evaluation for the Moderate Class More Knowledge activities at the pilot school projects in Muang Pan District, Lampang. The subjects were four pilot school projects organized with Moderate Class More Knowledge activities, which are Anuban Muang Pan School, Ban Phahew School, Chaesonwittaya School and Thungkaowwittayakom School. The research instruments were the document analysis, the interview and the meeting. The data was analysed in terms of contents and categorised into groups. The validity and reliability of the data was examined by employing data triangulation and was comprehensively interpreted. The inductive conclusion from the field work data was also conducted.
The research has shown the following results:
1. Regarding the development of assessment and evaluation of the Moderate Class More Knowledge activity, the assessment and evaluation were not strong; therefore, the information from the assessment and evaluation could not be concluded appropriately in the activities. The researcher contends that specific objectives, well-planned content, activities and the models of assessments for the Moderate Class More Knowledge projects should have been provided. Advice and consultation was given to each school.
2. In terms of supporting the development of assessment and evaluation by employing a coaching system, the subject schools were found to use various types of assessment and evaluation to investigate the ongoing progress and final outcomes. The observation of the behaviour of the participants in the activity, the evaluation made by teachers, friends, and parents, the interviews which students were asked to give reflection towards the activities and the benefit of the knowledge gaining from the activities and the evaluation of satisfaction were also deployed. The results regarding Moderate Class More Knowledge activities were reported to relevant parties.
3. The process of assessment and evaluation development regarding Moderate Class More Knowledge activities among the four pilot school projects in Muang Pan District, Lampang consists of four phases: 1) Building understandable concepts of the project among researcher, teachers, administrators and education supervisors through exchanging ideas on the authentic assessment and evaluation. Also the discussed are the assessment and evaluation in the twenty-first century, the learning standards and indicators of learning curriculum via the project of Moderate Class More Knowledge, 2) Designing and developing Moderate Class More Knowledge activities where the coaching technique of the researcher was used to advise and consult teachers when setting the objectives, planning the contents, creating the activities and constructing the meaningful assessment and evaluation, 3) Planning the assessment and evaluation and setting behavioural indicators following the learning curriculum indicators where the measuring methods, measurement tools and evaluation criteria were selected and shaped. The researcher was using the coaching technique to facilitate teachers in all steps in order to achieve the device that definitely reflects the development of student’s ability, and 4) Assessing and evaluating the project of Moderate Class More Knowledge activities where the researcher employed the coaching techniques to support teachers in the process of interpreting results and using the results to develop student’s learning abilities.

Keywords: assessment and evaluation, Moderate Class More Knowledge activities, Muang Pan District
หมายเหตุ :