ชื่องานวิจัย : การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจากการมีส่วนร่วมของ ชุมชน ในเขตชานเมือง เทศบาลเมือง จังหวัดลำปาง
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2559
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 55,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : 004/2559
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก
สังกัด : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย :








บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและความจำเป็นในการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนาสื่อเทคโนโลยีการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจากการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) เพื่อศึกษาผลของสื่อเทคโนโลยีการจัดการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจากการมีส่วนร่วมของชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบปฏิบัติการอยางมีสวนรวม (PAR) ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน เพื่อหาลักษณะสื่อเทคโนโลยีการจัดการศึกษาต้นแบบที่ส่งเสริมทักษะและความเข้าใจของผู้ดูแลผู้สูงอายุในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่สามารถขยายผลในการแก้ปัญหาในพื้นที่อื่นต่อไปได้ ดำเนินการลงพื้นที่ทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลหลังทดลอง(One–Shot Case study) การหาประสิทธิภาพของสื่อ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบหลังการใช้สื่อ ผลการทดลองได้ดังนี้
1. สื่อมีบทบาทและความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
2. สื่อเทคโนโลยีการจัดการศึกษา ที่เหมาะสมต่อความต้องการขอชุมชน คือ เกมการเรียนรู้
และมีประสิทธิภาพ 76.25/78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้
3. คะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีผู้ผ่านเกณฑ์ 36 คน และมีระดับ
ผลสัมฤทธิ์โดยรวม ร้อยละ 75.17 อยู่ในระดับปานกลาง



Research: The development of media technology for education management to improve the life quality of elderly by Public Participation in Suburban area, Lampang municipality, Lampang Province.
Researcher Fisik Sean Buakanok
Year 2016

The purposes of this research were: 1) To study the role and necessity of bringing media technology for education management to improve the life quality of elderly. 2) To develop the media technology for education management to improve the life quality of elderly by Public Participation. 3) To study the effects of the media technology for education management. The research was used to test the sampled group including 50 elderly caretakers in establishments of production. The experimental design was had One–Shot Case study. The results from the test were used to assess the efficiency of the multimedia. Learning testing after using media. The results were as follows:
1. The media have role and necessity to improve the life quality of elderly.
2. Suitable media community is a learning game. The media technology for education management had efficiency criterion of 76.25/78 which was higher than the selected efficiency criterion.
3. The learning achievement of media meets the criteria defined qualified 36 people. The average grade totals 75.17 was moderate.
หมายเหตุ :