ชื่องานวิจัย : การพัฒนาทักษะการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนในระดับปฐมวัยในจังหวัดลำปาง Development of 21st Century Learning Assessment Skills of Pre-School Teachers in Lampang Province
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2557
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 50,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : -
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : ปรารถนา โกวิทยางกูร
สังกัด : สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยและการประเมิน
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : เบญจมาศ พุทธิมา








บทคัดย่อ : การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนในระดับปฐมวัยในจังหวัดลำปางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการประเมิน การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนในระดับปฐมวัย และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อ การปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนในระดับปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนในระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลลำปาง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2556 จำนวน 20 คน ที่มีความเต็มใจเข้าร่วมโครงการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) หลักสูตรการประเมินพัฒนาทักษะการประเมิน การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนในระดับ 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม 3) แบบประเมินการพัฒนาการสร้างแบบประเมินในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอน 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจของครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการ และ 5) แบบบันทึกสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาทักษะการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนในระดับปฐมวัย ดังนี้ ผลการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนระดับปฐมวัยพบว่าจากการทดสอบก่อนและหลังการอบรม ครูส่วนใหญ่มีพัฒนาการของคะแนนเพิ่มขึ้นหลังจากอบรม สรุปได้ว่าหลังการอบรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มมากขึ้น และผลการพัฒนาทักษะการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนระดับปฐมวัย พบว่าทักษะการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนในระดับปฐมวัย หลังจากการอบรมครั้งที่ 1 ครูมีทักษะตั้งแต่ระดับต่ำมากถึงระดับสูง โดยทักษะระดับสูงมีจำนวนน้อยมากเพียง ร้อยละ 5.00 เท่านั้น เมื่อมีการนิเทศ ให้คำแนะนำ และมีการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 เพื่อเติมเต็มอย่างต่อเนื่องครูมีการพัฒนาทักษะเพิ่มขึ้น เมื่อสิ้นสุดโครงการครูผู้สอนส่วนใหญ่มีทักษะในระดับสูงถึงสูงมาก โดยมีทักษะในระดับสูงมากถึงร้อยละ 90.00
ความคิดเห็นต่อการปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนในระดับปฐมวัย โดยครูระดับปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครื่องมือในการประเมินการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ในระดับมาก และจากการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการได้ให้ข้อสะท้อนคิดในประเด็นต่าง ๆ คือ 1) ความคิดเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินก่อนเข้าร่วมโครงการ พบว่าโดยทั่วไปก่อนเข้าร่วมโครงการของครูผู้สอนนั้นส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และ การประเมินในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่พบว่าปัญหาในการดำเนินการสร้างแบบประเมินการเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะได้แบบประเมินที่สามารถประเมินได้อย่างครอบคลุมและตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด 2) องค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ/ความรู้ที่ความสามารถนำไปปฏิบัติจริง จากการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอน พบว่าการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงจากการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครื่องมือในการประเมินการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอน ทำให้ได้องค์ความรู้ที่ได้รับและสามารถนำไปปฏิบัติใช้จริงได้คือการวัดและประเมินผลพัฒนาการของนักเรียนควรประเมินเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง และประเมินระดับปฐมวัยควรเป็นการประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก และนอกจากนั้นต้องประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน 3) การปรับเปลี่ยนแนวคิดในการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากการสนทนากลุ่ม เพื่อถอดความรู้ร่วมกันครูผู้สอนได้สะท้อนคิดว่าจากการได้ร่วมโครงการทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินในมิติที่ต่างจากเดิมคือ 3.1) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง 3.2) มีความเข้าใจ และมั่นใจในการสร้างเครื่องมือประเมินการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยได้อย่าง 3.3) มีความเข้าใจ และตระหนักเกี่ยวกับการประเมินตามสภาพจริงมากยิ่งขึ้น 3.4) เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้



The research entitled, “Development of Skills in the 21st Century Learning Assessment of Teachers Teaching in Early Childhood Level in Lampang Province ,” had two objectives:- 1) to develop early childhood teachers’ skills in the 21st century learning assessment, and 2) to investigate teachers’ opinion towards a shift in concepts of the 21st century learning assessment. The target group consisted of 20 early childhood teachers from Anuban Lampang School, Muang Lampang District, Lampang Province in the 2013 academic year. Those teachers were willing to participate in the research project. Instruments used consisted of :- 1) the curriculum on an assessment of developing early childhood teachers’ skills in the 21st century learning assessment; 2) pre-test and post-test used before and after the training session;3) an assessment form on teachers’ development in constructing the 21st century assessment form; and 4) a questionnaire on satisfaction of teachers taking part in the project and 5) focus group interviews..
The findings revealed the results of developing early childhood teachers’ skills in the 21st century learning assessment. When comparing the teachers’ pre-test score with that of their post-test one, it was found that most of them gained better score after the first training session. Thus, it could be inferred that after the first training session on skills in the 21stcentury learning assessment, the target group gained considerable knowledge and understanding. Moreover, it was also found that after the first training session, teachers’ skills could be ranked from very low level to that of the higher one though with a very small number of participants (5.00 percent). However, when supervision, suggestions and the second session of the workshop were provided for the participants so as to continually fulfill their knowledge, their skills were developed as a result. At the end of the project, most of the teachers possessed high to very high level of skills, especially there was 90.00 percent of those whose skills were at a very high level.
Early childhood teachers were satisfied with the workshop to construct an instrument for the 21st century learning assessment at a high level and information from a focus group technique with the teachers who shared their reflection on various topics, namely: 1) their ideas of learning experience management and learning assessment before participating in the project that formerly most of them had some knowledge and understanding in learning experience management and assessment, but most of them encountered with the problems of constructing a learning assessment form that covered every aspect and served objectives that needed to be measured; 2) when putting the body of knowledge gained from participating in the project/practical knowledge into light, it was found that they learned and practiced learning by doing, also taking part in the workshop to construct an instrument used to assess learning in the 21st century provided them with the body of knowledge which was applicable for real practice, especially in measuring and assessing students’ development which should be continually conducted with one student at a time. Moreover, the assessment for early childhood level should be an authentic one with various techniques and was suitable for students. It should also be systematic, well-planned with selective instruments and logs should be kept as an evidence; and 3) when putting a shift in concepts of the 21st century learning assessment into light, it was found from a focus group technique that participating in the project caused teachers to become knowledgeable with better understanding about learning experience management and assessment, but with different dimensions from the past since: 3.1) authentically, they possessed knowledge and understanding about the 21st century learning assessment; 3.2) they had better understanding and became confident in constructing an instrument to assess learning in the early childhood level; 3.3) they had better understanding and became considerably aware of authentic assessment; and 3.4) there was a change concerning learning experience management and learning assessment.


Keywords: Skills in the 21st Century Learning Assessment, early childhood level
หมายเหตุ :