ชื่องานวิจัย : การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและ สร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (THE DEVELOPING TEACHERS' ABILITIES TO DESIGN AND CREATE EDUCATIONAL INNOVATION USING RESEARCH-BASED LEANING)
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : -
ประเภททุน : ทุนภายใน
แหล่งทุน : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 0.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : -
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : ปราโมทย์ พรหมขันธ์
สังกัด : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย :








บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (2) เพื่อศึกษาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา และ (3) เพื่อนำเสนอกระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประจำการของสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 20 คน รูปแบบการวิจัย คือ แบบศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดครั้งเดียว (The one-group posttest-only design) ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้วิจัยเป็นฐาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการออกแบบ ขั้นการพัฒนา ขั้นการนำไปทดลองใช้ และขั้นการประเมินผล โดยมีใบงานที่เป็นภาระงานเพื่อกำหนดกิจกรรม จำนวน 16 ใบงาน (2) ครูประเมินตนเองด้านความสามารถในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก (3) ครูมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมการฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก (4) ผลการสะท้อนคิดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูส่วนใหญ่คาดหวังที่จะมีความสามารถในการผลิตสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ครูได้รับความรู้ตามที่คาดหวังไว้ และได้รับแนวคิดการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ครูส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้จัดการฝึกอบรมแจ้งทรัพยากรในการผลิตสื่อการเรียนการสอนในลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนล่วงหน้า และจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเทคนิคการจัดทำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเกี่ยวกับรูปแบบที่จะนำไปใช้สอนจริงและสอนทฤษฎีการเรียนรู้เพิ่มเติม และครูส่วนใหญ่ วางแผนที่จะนำทักษะและแนวความคิดในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย โดยใช้สื่อประสม เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาง่ายขึ้น



The research objectives were: (1) to study the process of research-based learning; (2) to study teachers' abilities to design and create educational innovation; and (3) to propose the process of developing the teachers’ abilities to design and create educational innovation using research-based learning. The samples under study were twenty in-service teachers from schools under the jurisdiction of Lampang Primary Educational Service Area Office 3. The one-group posttest-only design was employed in this research. The research results were: (1) the research-based learning process consisted of four steps, namely: designing, developing, testing, and evaluating tasks and activities assigned in the sixteen worksheets; (2) the teachers’ self-evaluation of their abilities to design and create educational innovation could be ranged from medium to high levels, respectively; (3) the teachers’ self-evaluation of their participation in the teacher development training course was at a high level; and (4) the teachers’ self-reflection of their participation in this training course revealed that they expected that they would be able to produce the media by themselves, gained knowledge and idea that could help them design and create educational innovation on more systematically, and kept participating in the teacher development project. Moreover, most of the teachers planned to design and create educational innovation using various forms of multimedia which would assist their students to understand the subject matters more easily.
หมายเหตุ :