ชื่องานวิจัย : รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูภาษาอังกฤษโดยใช้เครือข่ายบูรณาการในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
ประเภทวิจัย : วิจัยองค์ความรู้
ปีงบประมาณ : 2557
ประเภททุน : ทุนภายนอก
แหล่งทุน : สกว. และ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
งบประมาณ : 100,000.00 บาท
เลขที่สัญญาทุน : -
สถานะ : ส่งเล่มสมบูรณ์
หัวหน้าวิจัย : ศิริพรรณ กาจกำแหง
สังกัด : สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ข้อมูลติดต่อ :     
ผู้ร่วมวิจัย : บุษราคัม อินทสุก
ธนาพันธุ์ ณ เชียงใหม่
สุภาภรณ์ มาชัยวงศ์
เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ
มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์




บทคัดย่อ : งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูภาษาอังกฤษโดยใช้เครือข่ายบูรณาการในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง” มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการ คือ 1)เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เครือข่ายบูรณาการโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูกลุ่มสาระภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 12 โรงเรียน นักศึกษา ครูแกนนำ และศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 3 รวมทั้งหมด จำนวน 30 คน คณะผู้วิจัยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามด้านความรู้ ความเข้าใจ ความพึงพอใจ และการนำไปใช้ หลังการทำกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษให้กับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามการดำเนินการของเครือข่ายบูรณาการของครูภาษาอังกฤษตามการรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและร่วมเป็นเครือข่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.ครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีผลทดสอบความรู้สูงขึ้นหลังการอบรมเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 93.33 หลังการอบรมครูมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.53) มีความพึงพอใจต่อการดำเนินการจัดอบรม อยู่ในระดับมาก( x̄=4.40) และด้านการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก( x̄=4.32)

2.การดำเนินงานของเครือข่ายฯ ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจและเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก( x̄=4.46)

3.องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง มีลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันการใช้เทคนิคการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การพบปะพูดคุย และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายเพื่อสร้างองค์ความรู้
4.รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้เครือข่ายบูรณาการโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่คณะครูกลุ่มเป้าหมายร่วมกันออกแบบโดยพิจารณาการใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม นอกจากนี้ยังเน้นการใช้เทคนิคการสอนและกิจกรรมเสริมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น การสอนโดยมุ่งการปฏิบัติ การสอนโดยใช้แนวการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางหรือ TPR(Total Physical Response) และการสอนโดยผ่านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ

5.ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เครือข่ายบูรณาการในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ผลการวิเคราะห์พบว่า การดำเนินการของเครือข่ายบูรณาการของครูภาษาอังกฤษตามการรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและร่วมเป็นเครือข่าย อยู่ในระดับมาก( x̄=4.46 ) เมื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงจะมีความเหมาะสมในภาคการศึกษาที่ 1 มากกว่าเพราะผู้สอนยังไม่มีภาระงานที่ได้รับมอบหมายมาก แต่เมื่อนำไปใช้ในภาคการศึกษาที่ 2 พบว่าภาระงานที่เพิ่มขึ้นมีผลแทรกแซงต่อการดำเนินกิจกรรมเครือข่ายของครูกลุ่มเป้าหมาย เป็นผลให้ความถี่ของการพบปะพูดคุยลดลง กลุ่มเป้าหมายจึงพิจารณาช่องทางเลือกอื่นซึ่งมีประสิทธิภาพน้อยกว่า

คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูภาษาอังกฤษ เครือข่ายบูรณาการ รูปแบบการจัดการเรียนรู้



The objectives of the research on “A Model for Developing English Teachers’ Potentials in the 21st Century Learning Management through Integrative Network of Primary Schools in Muangpan District, Lampang Province” were threefold;-1) to analyze body of knowledge concerning the development of learning management; 2) to develop style of learning management ; and 3) to investigate the results of using style of learning management in the 21st century by English teachers through integrative network of primary Schools in Muangpan District, Lampang Province. A sample was selected from school administrators, English teachers from twelve primary schools, English Major students from the Faculty of Education, Lampang Rajabhat University, master teachers, and school supervisors from Lampang Primary Educational Service Area Region 3 with the total number of thirty people altogether. Researchers administered the pretest and posttest with the English teachers and distributed the questionnaire on their knowledge, satisfaction and application of knowledge gained after participating in the training activities. Moreover, the questionnaire on the performance of integrative network of the English teachers as perceived by people concerned who were also network members was distributed. The statistics used consisted of descriptive statistics by means of frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. Descriptive analysis was applied with qualitative data.
The research findings were as followed:-

1. English teachers with the percentage of 93.33 gained higher marks from the posttest after participating in a training on English teaching techniques. They became more knowledgeable and clear about English teaching techniques than before taking part in the training with the highest mean score ( x̄=4.53). They were satisfied with the launching of the training with the high mean score ( x̄=4.40). The application of knowledge gained from the training with their students was also with the high mean score ( x̄=4.32).

2. The implementation of the network was satisfactorily successful and useful with the high mean score ( x̄=4.46).

3. The body of knowledge relevant to the development of learning management in the 21st century of English teachers at the primary schools in Muangpan District, Lampang Province was characterized as knowledge management(KM), the sharing of English teaching techniques to develop teachers’ instructional skills, informal conversations, and the use of information technology to enhance the construction of the body of knowledge among members of the network.

4. The model for learning management in the 21st century of English teachers through integrative network of primary schools in Muangpan District, Lampang Province was the one that the target group collaboratively designed what was suitable for their needs by using various instructional media, specifically the use of the long distant TV programs via the satellite. Moreover, they emphasized the use of teaching techniques and supplementary activities to enhance students’ learning, such as authentic performance, Total Physical Response(TPR) technique, and English camp activities.
5. It was found from the results of using the model for learning management in the 21st century of the English teachers through integrative network of primary schools in Muangpan District, Lampang Province that the implementation of the integrative of English teachers as perceived by people concerned who were also members of the network was at the high mean score( x̄=4.46 ). When applying the model to the real situations, one should be aware that the suitable duration to conduct the research should be in the first semester since teachers are not assigned with heavy workload. However, when the implementation of the model is set in the second semester, the increasing workload intervened in the activities provided for the target group resulting in a decrease in making informal conversations among the teachers. Thus, they opt for other alternative channels though with less effectiveness.

Keywords: learning management in the 21st century, English teachers, integrative network,
learning management model
หมายเหตุ :